วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558



บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
ความรู้ที่ได้รับ
 
    ให้นักศึกษาติดชื่อตัวเองว่ามาโรงเรียนเวลาไหน โดยการทำกิจกรรมนี้ สื่อให้เห็นเกี่ยวกับประสบการณ์คณิตศาตร์โดยการนำไปประยุกต์ใช้ในการใช้ชีวิตประจำวันโดยใช้วิธีการสอนแบบใช้คำถามปลายเปิดให้เด็กได้คิด เช่น ในกระเป๋ามีดินสอของเรากี่แท่งมีอะไรบ้าง ( ความจำ )
                       "    ถ้าในกระป๋าเราไม่มีปากกาจะทำอย่างไร    ( แบบคิด )
ซึ่งคณิตศาสตร์มักจะคู่กับภาษาเพราะเป็นเครื่องมือโดยการใช้การเล่นผ่านมุมต่างๆ
การเล่นของ มอนเตสเซอรี่ คือการล่นจากสิ่งที่ง่ายไปหายากโดยคุณครูจะต้องเป็นผู้ที่สอนการล่นโดยการเล่นต้องเป็นลำดับขั้นตอนผ่านมุมประสบการณ์มีการใช้บทบาทสมมุติ

รูปแบบารจัดประสบการณ์ต่อไปนี้

แบบบูรณาการ , แบบโครงการ , แบบสมองเป็นฐาน , แบบ STEM , แบบมอนตสเซอรี่ เเบบเดินเรื่อง

เลขที่ 16-18 นำเสนอ โทรทัศน์ครู
ชื่อ ผลไม้แสนสุข  นส. วัชรี วงค์สะอาด เลขที่ 16
      คุณครูใช้การสอนแบบบูรณาการโดยการใช้ผลไม้เป็นสื่อในการสอนคณิตศาตร์ โดยพาเด็กออกไปศึกษานอกสถานที่ ไปได้สัมผัสของจริงซึ่งพาเด็กไปซื้อผลไม้เเต่ให้มีข้อตกลงกันโคยให้เด็กช่วยกันระดมความคิดบอกถึงข้อตกลงร่วมกัน 1. มารยาท 2. ความปลอดภัยเพื่อเด็กๆจะได้ตรียมตัวความพร้อมเเละคำถาม เด็กได้รู้จักการชั่ง รู้หน่วยของ กิโลกรัมว่า 1 กก.จะได้ผลของส้มกี่ลูก? รู้ราคา จำนวนนับ เงิน รูปทรง ภาษา เป็นต้น ครูมีการจัดกิจกรรมใช้คำคลองจองเป็นการจัดกิจกรรมเด็กไม่ได้เค่ความรู้เชิงวิชาการเท่านั้นเเต่ได้การรู้จักเข้าสังคม มารยาท การรอค่อย มารยาทไทย
ชื่อเรื่อง ประสาทสัมผัสทั้ง 5  นส. เวรุวรรณ ชู่กลิ่น เลขที่ 17
1.การมอง เอารูปทรงของกระบอก
2.การฟัง มีระดับของเสียง สูง ตํ่า ก็ป็นการรียนรู้เกี่ยวกับคณิตศาตร์
3.การสัมผัส คือการสัมผัสถึงความหนา บาง
4.การดม มีปริมาณของกลิ่น
5.การชิม ได้รู้ปริมาณถึงรสชาดมากน้อย
การจัดประสบการณ์เบบบูรณาการ การจัดประสบการณ์ตามความสนใจ ลความสามารถโดยเชื่อมโยง เนื่้อหาสาระของศาสตร์ต่างๆ เช่น คณิต วิทย์ สังคม สุขศึกษา ศิลปะ  เมื่อเด็กเปลี่ยนปลงพฤติกรรมก็เกิดการเรียนรู้ได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันเละชีวิตจริง

>>ทักษะ<<
- มีการร้องเพลง ละอ่านคล้องจ้อง
- ให้นักศึกษา วาดรูปนาฬิกาบนกระดานตามเวลาที่ตนมาเรียน


>>วิธีการสอน<<
- มีการบรรยายโดยการใช้ power  point
- มีการใช้ในการสอนเพื่อให้ นักศึกษาได้คิด
- ทำเบบทดสอบก่อนเรียน


ประเมินสภาพห้องเรียน

- บรรยากาศเย็นสบายเอื้ออำนวยต่อการเรียนอุปกรณ์ในการสอนสะดวกพร้อมใช้งาน

ประเมินตนเอง

- มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน

-  เพื่อนที่หลังข้างหลังคุยกันเสียงดังมาก

ประเมินอาจารย์

เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมใหม่ๆมาให้ทำตลอด  เตรียมตัวในการสอนมาดี

ประเมินสภาพห้องเรียน

- บรรยากาศเย็นสบายเอื้ออำนวยต่อการเรียนอุปกรณ์ในการสอนสะดวกพร้อมใช้งาน






บันทึกการเรียนประจำ ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558

                     


                                 บันทึกการเรียนการเรียนครั้งที่ 6 
    ความรู้ที่ได้

      ให้นักศึกษาทำกิจกรรมโดยการถามว่าวันว่เลนไทน์อยากไปเที่ยวสถานที่ไหน เพื่อนเสนอสถานที่ท่องเที่ยวมา 3 สถานที่ คือ สวนรถไฟ เกาะต่าง นํ้าตก ถ้าเป็นเด็กก็ใช้กิจวัตรประจำวันหรือสถานการณ์นั้นให้เด็กได้เรียนรู้ดวยตนเอง เด็กก็จะได้รู้ ถึงจำนวนตัวเลข มากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ การเขียนตัวเลข เป็นตน

น.ส ศุทธินี  โนนริบรูณ์ เลขที่ 14 นำเสนอวิจัย
ชื่อวิจัย: ผลการใช้สื่อการเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ด้านการจัดประเภทของเด็กปฐมวัย

     จากผลการวิจัยเรื่อง  ผลการใช้สื่อการเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ด้านการประเภทซึ่งมีประชากร คือนักเรียนปฐมวัยอายุ 5-6 ปี อนุบาลปีที่ ซึ่งมีการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรด้านการจัดประเภท ก่อนเรียนและหลังเรียน  โดยมีกิจกรรมการเรียนรู้จากสื่อการเรียนรู้ในท้องถิ่น 24 กิจกรรม ใน4 เรื่อง  1.รูปทรงเรขาคณิต 2.ประเภทตามขนาด 3.ประเภทตามชนิด 4.ประเภทตามสี อย่างละ 6 กิจกรรมและแบบทดสอบ 20 ข้อ ใน 4 เรื่องที่กล่าวมา เรื่องละ 5 ข้อ ระเวลา คือ 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือ จันทร์ พุธ ศุกร์ วันละ 40 นาทีสื่อการเรียนรู้ในท้องถิ่นที่ใช้ คือ ไม้สัก ไม้ประดู่ กระบอกไม้ไผ่ และกะลามะพร้าว เป็นต้น ส่วนกิจกรรมก็จะสอดคล้องกับเนื้อหา ทั้ง 4เรื่อง ผลการวิจัยในเรื่องนี้พบว่า เด็กทีได้รับการจัดกิจกรรม โดยการใช้สื่อในท้องถิ่น มีคะแนนทักษะพื้นฐาน ด้านการจัดประเภท หลังการทดสอบได้ดีกว่าก่อนทดสอบ
>>เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์<<  ได้แก่  1.เพลง   2.เกม  3.ปริศนาคำท้าย  4.นิทาน              5.คำคล้องจอง  6.บทบาทสมมติ  7.แผนภูมิภาพ  8.สื่อในท้องถิ่น  9.การเล่นแบบไท
                                                         
*เพื่อนร่วมกันเเต่งเพลง*
ไข่2ฟอง        กลอง 2 ใบ 
ไก่ 2 ตัว   วัว 2 ขา 
เกาเหลา 2 ชาม นับไปนับมา 2 อย่างหมดเลย

 >> เกม<< ในรูปแบบหลากหลายเป็นตัวเลข ต้องประยุกต์ใช้ปรับเปลี่ยนให้เหมากับตาใวัย ละความพร้อมของเด็ก
>> ปริศนาคำทาย<< เป็นอะไรเอ๋ย ??
ทักษะ
-ทดสอบก่อนเรียน
-มีการระดมความคิด
-มีการวาดรูปในตารางให้เป็นรูปต่างเละต่อรูปทรง

วิธีการสอน
-การใช้เพลงประอบการเรียนการสอน
-มีการใช้คำถามพื่อให้ นักศ฿กษาได้คิด
-บรรยายการสอน power point


ประเมินสภาพห้องเรียน

- บรรยากาศเย็นสบายเอื้ออำนวยต่อการเรียน  อุปกรณ์ในการสอนสะดวกพร้อมใช้งาน

ประเมินตนเอง

- มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน มีการคิด วิคราะห์อยู่ตลอดเวลา

ประเมินเพื่อน

-  เพื่อนมีการคุยกันเสียงดังบ้าง ไม่ตั้งใจฟังอาจารย์สอน เข้าเรียนสาย

ประเมินอาจารย์

เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมใหม่ๆมาให้ทำตลอด ไม่ว่าจะเป็นการต่อรูปทรงการแต่งเพลงร่วมกันในห้องเรียน ทำให้ในการเรียนไม่น่าเบื่อ



วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันที่ 06 กุมภาพันธ์ 2558



บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
ความรู้ที่ได้

- อาจารย์ให้ทำกิจกรรมโดยเช็คชื่อพื่อนว่า มา หรือ ไม่มาโดยการใช้สอน คณิตศาสตร์ไม่จำเป็นต้องสอนในห้องเรียนก็ไ้ด้โดยที่คุณครูสามารถจัดได้

- ทำเบบทดสอบก่อนเรียน 3 ข้อ ดดยที่เราสามารถรู้ตัวเราเองว่ามีความรู้ที่อยู่มากน้อยเพียงใด
1.สาระละมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศสาตร์
2.สารแลมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาตร์สู่การปฎิบัติสู่ชั้นเรียน

- เลขที่ 11นางสาว ชนากานต์  แสนสุข นำเสนอบทความ


เพลง จัดเเถว
สองมือชูตรง                 เเล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายมาข้างหน้า          แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง


- เด็กปฐมวัยเรียนรู้อย่างไรในคณิตศาสตร์  ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมในด้านต่างๆทางคณิตศาตร์ที่เป็นพื่นฐานการเรียนรู้ในชั้นประถมศึกษา เด็กต้องลงมือปฎิบัติ, เนื้อหาเเละทักษะเพื่อนำไปต่อยอดประถม

- เป้าหมาย
1.เพื่อพัฒนาความคิดรวมยอด + -
2.รู้จักการหาคำตอบ
3.เข้าใจพื้นฐนคณิต
4.ฝึกฝนทักษะคณิต การปรียบเทียบ
5.เพื่อหาคำตอบด้วยตนเอง

- สาระเเละมาตรฐานการเรียนรู้

* สาระที่ 1 จำนวน/การจำเเนก
- การนับ
- จำนวน
- การเปรียบทียบ
- จัดเรียง
- คำศัพท์คณิต/สัญญลักษณ์

* สาระที่ 2 การวัด
เข้าใจพื่นฐานเกี่ยวกับความ รู้จักเหรียญและธนบัตร --->>ใช้กิจกรรมการเล่นตามมุมหรือบทบาทสมมุติ
เข้าใจเกี่ยวกับเวลาเเละคำที่ช้บอกเวลา--->>ใช้ารบอกกิจวัตรประจำวัน
- เวลา 
- นำ้หนัก
- ความยาว/ปริมาณ
- เงิน

* สาระที่ 3 เรขาคณิต 
มีความเข้าใจพื่นฐานทางเรขาคณิต
- รูปเรขาคณิต 3 มิติ
- บอกตำเเห่งทิศทาง
- การเปลี่ยนรูปทรง
- ระยะทาง

* สาระที่ 4 พีชคณิต
- แบบรูปเละความสำคัญ

* สาระที่ 5 วิเคราห์ข้อมูล/ความน่าจะเป็๋น
- แผนภูมิอย่าง่าย

* สาระที่ 6 ทักษะเเละกระบวนการ/การใช้เหตุผล
- การเเก้ปัญหา

>> ทักษะ <<

- ทดสอบก่อนเรียน
- ได้ระดมความคิดเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน

>>  วิธีการสอน <<

- การใช้คำถามก่อนเรียน

- มีเพลงประกอบการสอน

- บรรยายประกอบด้วย power  point

การประเมิน

ประเมินห้องเรียน ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์ในการเรียนครบ

ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียนเเละมีความกรตือรือร้นในการที่จะตอบคำถาม

ประเมินเพื่อน เพื่อนในห้องให้ความร่วมมื่อดีในการตอบคำถามเเละการเสดงคว่มคิดเห็นเต่ด้วยเรียนในช่วงบ่ายเลยทำให้เกิดอาการง่วงเเต่ก็ควบคุมตัวเองได้

ประเมินอาจารย์ มีการเตรียมตัวในการสอนมาอย่างดีทำให้ไม่เสียเวลาเรียน พูดอธิบายเนื้อหาที่น่าฟังเเละไม่น่าเบื่อ อาจารย์มีเทคนิคในการสอนที่ให้เด็กร่วมด้วยช่วยกันตอบ
  



วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียน ประจำวันที่ 28 มกราคม 2558




                                           บันทึกการเรียนครั้งที่ 4 
ความรู้ที่ได้รับ
                                           
  เพื่อนคนไหนมาถึงมหาลัย ก่อน - หลัง


เลขที่ 7-9 นำเสนอโทรทัศน์ครู
* การสอนเกี่ยวกับตัวเลขที่มีสื่อ คือการใช้ผลไม้

* จากรายการท็อกอะเบาร์คิส นำเสนอโดยครู จอย สอนคณิิศาสตร์เด็ก อนุบาล 2-3 โดยการใช้ศิลปะในการสอน

* วิดีโอเลขรอบตัวเรา ก่อนเรียนมีการเตรียมตัวโดยการอุ่นร่างกาย สอนเลขผ่านเพลง เเละสัญญลักษณ์
คุณลักษณะ

- คุณลักษณะตามวัยของเด็กหรือพัฒนาการตามธรรมชาติ

คุณลักษณะตามวัยก็คือพฤติกรรมตามวัย จะต้องีการพัฒนาไปตามธรรมชาติ พัฒนาครบทั้ง 4  ด้าน คือ 

ร่างกาย อารมณ์จิตใจ  สังคม  สติปญญา 

- ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของบรูเนอร์

ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของไวก๊อตสกี้

- ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ตามหลักเพียเจต์
1.ความรู้ด้านกายภาพ เป็นความรู้ด้านนอก
2.ความรู้ด้านเหตุผลทางคณิตศาสตร์ เกิดขึ้นภายในที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงเข้ากับทฤษฎี

- จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับด็กปฐมวัย
  1. เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ การรู้จักคำศัพท์  เช่น ตัวเลข ขนาด รูปร่าง อุณหภูมิ
  2. พัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ช่น การบวก การลบ
  3. รู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
  4. ให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การรวมกัน มากกว่า น้อยกว่า
  5. ส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
ที่สำคัญการกำหนดกฎเกณฑ์ในการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ต้องกำหนดเกณฑ์เดียว เพื่อความเข้าใจและไม่สับสนของเด็ก


- ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
  1. การสังกต ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5เก็บรวบรวมข้อมูล
  2. การจำแนกประเภท การเเบ่งประเภท
  3. การเปรียบเทียบ จะต้องมีตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป
  4. การจัดลำดับ เป็นทักษะการเปรียบทียบขั้นสูง เเละลำดับวัตถุของเหตุการณ์
  5. การวัด มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์หรือการใช้เหตุผล   การวัดสำหรับเด็กปฐมวัยจะไม่ใช้หน่วยวัดมาตรฐานในการวัด
  6. การนับ สำหรับเด็กจะชอบการนับแบบท่องจำหรือการนับปากปล่า
  7. รูปทรงและขนาด เด็กจะเรียนรู้จากประสบการณ์เดิมเเละจะรู้ก่อนที่จะเข้าโรงเรียน
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์   จะประกอบไปด้วย การนับ ตัวเลข การจับคู่  การจัดประเภท

เปรียบเทียบ จัดลำดับ รูปทรงและเนื้อที่

หลักการสอนของคณิตศาสตร์
  1. สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเด็กมองเห็น ความจำเป็นและประโยชน์ของสิ่งที่ครูสอน
  2. เปิดโอกาสให้เด็กค้นพบด้วยตนเอง
  3. มีเป้าหมายวางแผน
  4. เอาใจใส่การเรียนรู้ตามลำดับขั้นพัฒนาการ
ทักษะ

การทำกิจกรรมเปรียบเทียบเวลา โดยการนำชื่อตัวเองไปติดหน้ากระดานว่ามาก่อนหรือหลัง เกณฑ์ในการทำกิจกรรม คือ 12.00 น. 

- ทดสอบก่อนเรียน

- ระดมความคิดเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน

วิธีการสอน

- การใช้คำถามก่อนเรียน

- ใช้เพลงมาประกอบในการสอน เช่นเพลง สวัสดียามเช้า

- บรรยายประกอบ power point

-กระดาษเเข็ง สีเมจิก


การประเมิน

ประเมินห้องเรียน

สภาพห้องสะอาด  แอร์เย็นพอดี ไม่คับเเคบ 


ประเมินตนเอง

ตั้งใจฟังที่ครูสอน มีอาการง่วงบ้างเเต่ก็พยายามตั้งใจฟัง


ประเมินเพื่อน

เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบคำถามกันทุกคน สนใจในทุกกิจกรรมที่ทำในห้องมาเรียนสายบ้าง


ประเมินอาจารย์ 


มีความพร้อมในการสอนเตรียมอุปกรณ์ในการสอนมาเพียงพอเเก่นักศึกษา